เคยมีอาการอย่างนี้กันบ้างไหม? นอนตื่นสายทั้งๆ ที่เมื่อคืนก็ไม่ได้นอนดึก นอนมากตื่นก็สาย แต่ทำไมไม่สดชื่น แถมมีอาการง่วงๆ ซึมๆ อีกต่างหาก หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ความสามารถในการจำลดลง ตกบ่ายก็เกิดอาการหาว และอยากนอน

 

 

การนอนหลับที่ปกติเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างหนึ่ง รวมถึงการ “นอนกรน” แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้รับรู้ว่าการ “นอนกรน” มีอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิดอย่างมากจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นคน “นอนกรน” เรื่องนี้ง่ายมากๆ นั่นคือ ถามคนใกล้ชิด ทำอย่างไรถึงจะไม่ “นอนกรน” อีกต่อไป

อาการนอนกรน มี 2 ประเภท คือ

1.กรนธรรมดา จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน ทำให้นอนหลับยาก เนื่องจากเสียงดัง

2. ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดาและกรนอันตราย มีภาวะหยุดหายใจขณะ หลับร่วมด้วย นอกจากจะมีผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่รักษาอาจมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและอาจถึงชีวิตได้

เมื่อรู้สึกว่ามีปัญหานอนกรน หรือสงสัยว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากปรึกษาคนใกล้ชิดที่ช่วยสังเกตอาการขณะนอนหลับแล้ว ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาให้คำแนะนำที่เหมาะสม ตามสถิติแล้วอาการนอนกรนและการหยุดหายใจจากการอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่พบในบุคคลที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐาน ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และเกิดมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

แม้จะไม่พบปัจจัยเหล่านี้ ผู้ป่วยก็ยังมีอาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับควรพิจารณาถึงอาการและผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการนอนที่ผิดปกติ เช่น อาการอ่อนเพลีย อาการปวดศีรษะตอนเช้า หรือ อาการหมดสมรรถภาพทางเพศ หลับในช่วงกลางวันบ่อยๆ

ประวัติการใช้ยา การดื่มสุราประวัติครอบครัว โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นข้อมูลที่สำคัญในการดูแลรักษาการใช้อุปกรณ์ครอบฟันที่ช่วยจัดตำแหน่งขากรรไกร ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการช่วยรักษาอาการกรน อุปกรณ์นี้ออกจะได้ผลดีในการช่วยรักษา หรือจัดการกับผู้ที่อาจจะมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจชั่วคราวในขณะนอนหลับด้วย

 

 

ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์