ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “SAD” (Seasonal Affective Disorder) หรืออาการซึมเศร้าที่มีผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลนั่นเอง ซึ่งอาการนี้มักเกิดกับคนอายุ 18 - 30 ปี โดยเกิดในเพศหญิงมากถึง 3 ใน 4 ของผู้มีอาการ และอาการดังกล่าวอาจนำพาไปสู่การฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว!
ผู้ที่เกิดอาการนี้จะมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า เริ่มสูญเสียความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมที่เคยชอบ เริ่มรู้สึกความโศกเศร้า หงุดหงิด เครียด หรือวิตกกังวล เริ่มมีอาการเมื่อยล้าและอยากอาหารมากขึ้น โดยประชากรประมาณร้อยละ 10 - 20 มีอาการนี้ในระดับที่รุนแรง โดยจะพบอาการนี้มากในผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร 30 องศาละติจูดเหนือหรือใต้ขึ้นไป แต่ก็สามารถพบได้ในพื้นที่อื่นของโลก
สาเหตุของอาการดังกล่าวยังไม่แน่ชัดเท่าไรนัก แต่มีข้อสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ว่ามาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุ พันธุกรรม หรือองค์ประกอบทางเคมีในร่างกาย
ข้อสันนิษฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือฤดูหนาวนั้นมีเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน ทำให้ร่างกายมนุษย์ได้รับแสงแดดน้อยลงกว่าช่วงเวลาปกติ วงจรการนอนหลับและตื่น (Sleep-wake cycle) เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ฮอร์โมนเกี่ยวกับการหลับที่เรียกว่าเมลาโทนิน(Melatonin) หลั่งมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ต้องการการนอน ประกอบกับสารเซโรโทนิน (Serotonin)ที่มีผลต่ออารมณ์ดี อารมณ์ผ่อนคลาย อารมณ์สงบ ที่หลั่งจากสมองส่วนกลางมีปริมาณลดลงมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแสงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสำหรับการเกิดอาการดังกล่าว เนื่องจากมีฤดูหนาวที่ไม่ยาวนาน และยังมีแดดจ้าตลอดปี แต่หากเกิดอาการเศร้า เหงา วิตกกังวลขึ้นกับเราในฤดูหนาว เราก็สามารถบรรเทาอาการของมันได้ในระดับด้วยตนเอง โดยพยายามให้ร่างกายได้รับแสงสว่างให้มากขึ้น เช่นทำงานในที่ที่ถูกแสงแดด การเดินเล่นยามเช้าที่มีแดดอ่อนๆ หรือการออกกำลังกายกลางแจ้ง นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานอาหารประเภทโปรตีน เพื่อเพิ่มการผลิตสารเซโรโทนินของร่างกายอีกด้วย
เขียนโดย นายรักต์ศรา
อ้างอิง :
www.helpguide.org/articles/depression/seasonal-affective-disorder-sad.htm