เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคไตวายเรื้อรัง และร่วมหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคไตวายเรื้อรังสมาคมโรคไตนานาชาติจึงได้กำหนดให้ทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของ เดือนมีนาคมทุกปี เป็นวันไตโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม โดยในปีนี้รณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของไต และการดูแลสุขภาพ ไต ด้วยการคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตวายเรื้อรัง ของคนทั่วโลก รวมถึงการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดดูการทำงานของไตใน กลุ่มเสี่ยง เพื่อตรวจหาอาการเบื้องต้นและรับการบำบัดรักษาตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อชะลอการ เสื่อมของไต
ข้อมูลจาก พ.ต.อ.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและการบำบัดทดแทนไต หัวหน้าหน่วยโรคไต โรงพยาบาลตำรวจ กล่าวในงานสัมมนารณรงค์เนื่องในวันไตโลก ในหัวข้อเรื่อง “การล้างไตทางช่องท้องอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการบำบัดทดแทนไต” ระบุว่า แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. 2550 มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 160 คนต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี และมียอดผู้ป่วยสะสม สูงถึง 420 คนต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็น ตัวเลขที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะหากย้อนกลับไปดูข้อมูล 5 ปีหลัง พบว่าในปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วยใหม่เพียง 83 คนต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี และมีจำนวนผู้ป่วยสะสม 234 คนต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี และปัจจุบันยังเป็นที่น่าวิตกว่า อัตราการเกิดของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในประเทศไทยที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทน ไตนั้น ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี
โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากหลายสาเหตุ
ที่สำคัญคือ เกิดจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่วในไต กรวยไตอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และ สารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม “เอ็นเสด (NSAIDs)” และยาปฏิชีวนะบางตัว เป็นต้น
อาการโรคไตวายเรื้อรัง
มักจะแสดงให้เห็นก็ต่อเมื่อการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 10 ดังนั้น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะแรก มักจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น การวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังต้องอาศัยการตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูการทำ งานของไต ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังดัง ที่กล่าวมาเบื้องต้น รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ทางสมาคมโรคไตนานาชาติ รณรงค์ให้ได้รับการตรวจทุกคน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตวายเรื้อรังสูงถึงร้อยละ 50 ขณะที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเสี่ยงร้อยละ 10 ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการตรวจหาอาการเบื้องต้นและรับการบำบัดรักษา ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
นอกจากนี้ ควรรู้จักสังเกตอาการตนเองหากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ได้แก่
1.มี อาการบริเวณหน้าแข้งบวม เท้าบวม รอบตาบวม หน้าบวม กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งอาการบวมรอบตา บวมที่หน้า อาจสังเกตได้ง่ายเวลาที่ตื่นนอน ส่วนเท้าบวมอาจพบเมื่อเข้าช่วงบ่าย หรือยืนเป็นเวลานาน ๆ สังเกตได้จากแหวนหรือรองเท้าที่เคยสวมใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วมือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋ม
2.ความดัน โลหิตสูง เป็นอาการสำคัญของโรคไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะรายที่มีความดันโลหิตสูงมานานและควบคุมไม่ได้ เนื่องจากความดันโลหิตสูงโดยตัวมันเองอาจไม่มีอาการหรือมี อาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว มึนงง เป็นต้น ดังนั้นท่านควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
3.ปัสสาวะผิดปกติ และมีปริมาณน้อยลง โดยมีอาการ ดังนี้
-ปัสสาวะ เป็นเลือด สีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ ปัสสาวะ จะมีสีเหลืองใส อาจ มีสีเข้มข้นเมื่อดื่มน้ำ น้อยและจางลงเมื่อดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีปัสสาวะสีแดงคล้ายเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ บ่งบอกว่า อาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเกิด จากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบ หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเกิดจากโรคนิ่ว หรือการ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือเกิดจากไตอักเสบ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคเลือดที่ทำให้มีเลือดออกง่าย
-ปัสสาวะเป็นฟองมากเกินไป ให้สงสัยว่ามีโปรตีนรั่วจากการทำงานของไตผิดปกติ
-ปัสสาวะขัดหรือลำบาก
-ปัสสาวะมีเศษหิน เศษกรวดปะปน
-ปัสสาวะ กลางคืนหลังจากหลับไปแล้ว บ่อยกว่าปกติ ซึ่งในคนปกติ เมื่อคนเรานอนหลับ 6-8 ชั่วโมง มักจะไม่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะ คนเรา สามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 250 ซีซี หรือเท่ากับน้ำ 1 แก้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเวลากลางคืน แต่ในผู้ที่มีโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถลดการสร้างปัสสาวะได้ในตอน กลางคืน จึงมีปัสสาวะออกมากและลุกขึ้นมาปัสสาวะ โดยทั่วไปท่านอาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน 1-2 ครั้ง ถ้าท่านดื่มน้ำก่อนนอน หรืออาจจะเป็นนิสัยตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์
สำหรับผู้ที่ป่วย เป็นโรคไตวายเรื้อรังเมื่อ เป็นแล้ว จะเสียชีวิตทุกคนหากไม่ล้างไต ดังนั้น เรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยอย่าท้อแท้และหมดกำลังใจที่จะรักษา เพราะถึงแม้ว่าโรคไตวายเรื้อรัง จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตยืนยาวได้ หากได้รับการบำบัดทดแทนไตอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันทำได้ 3 วิธี คือ 1) การปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากขาดแคลนผู้บริจาค 2) การฟอกเลือด และ 3) การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการบำบัดทดแทนไตและได้บรรจุอยู่ในระบบหลัก ประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากการล้างไตผ่านช่องท้องจะทำให้คนไข้ได้รับความสะดวกและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดข้อจำกัดเรื่องเวลาที่ผู้ป่วยและญาติต้องเดินทางไปพบแพทย์ ตลอดเวลา เพราะการล้างไตทางช่อง ท้องนี้สามารถดูแลได้ด้วยตัวเองจึงเพิ่มความเป็นอิสระให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถ ทำการล้างไตได้เองทุกวัน จึงทำให้ร่างกายผู้ป่วยสามารถขับของเสียออกได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นและเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังเป็นการดีที่สุดด้วยการหลีกเลี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงและดูแลสุขภาพด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้ เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเหล้าและ บุหรี่ และเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้หมั่นรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การใช้ยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา โดยเฉพาะยาสมุนไพร ยาหม้อ หรือ ยาเม็ดลูกกลอน รวมถึงยาแผนปัจจุบันบางชนิดที่รับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพียงเท่านี้ก็อาจจะช่วยให้ท่านห่างไกลโรคไตวายเรื้อรังได้
ที่มมา ไทยซ่า