คงไม่มีใครยอมรับอย่างเต็มที่ว่าหลงตัวเอง แต่ลึกๆ แล้ว ทุกคนก็เริ่มมาจากทัศนคติว่า ฉันนั้นสำคัญสุด

         ซู ซาน เคราส์ไวท์บอร์น นักจิตวิทยา ระบุว่า อาการหลงตัวเองไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไปหากยึดพื้นฐานความเป็นจริงและความพอ ดี  หรือที่เรียกว่า "อาการหลงตัวเองในระดับที่ดีต่อสุขภาพ" ก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับชีวิตได้

         ประโยชน์ข้อแรกที่นักจิตวิทยาระบุไว้ คือ การหลงตัวเองแบบพอดีในช่วงปลายวัยรุ่นไปจนก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเป็นแรง ผลักดันให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ต้องออกจากอ้อมอกของพ่อแม่ที่พร้อมเผชิญกับ ความล้มเหลว

          ข้อถัดมา คือ คนที่หลงตัวเองมักจะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงไม่ต้องกังวลต่อความคิดเห็น ของคนรอบข้าง ทำให้เกิดความเครียดและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าน้อยกว่า

          การศึกษาในปี 2010 ระบุว่า ความเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยผลักดันให้ดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงาม หลายคนคงต้องเฮชัวร์ๆ

          เมื่อรู้ว่าการหลงตัวเองก็มีส่วนที่จะทำให้ได้งานมากขึ้นเพราะว่านายจ้าง ส่วนใหญ่ชื่นชอบคนที่หาเวลาปรับปรุงและพัฒนาตนเองเสมอ

          ข้อสุดท้าย คือ ประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ โดยไวท์บอร์น อธิบายว่า ความเชื่อมั่นในตนเองทำให้ไม่ต้องไปพึ่งพาผู้อื่นในการทำให้ตนเองมีความสุข นั่นเอง

 

         ที่มา : โพสต์ทูเดย์

         ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

http://www.thaihealth.or.th/