แม้ตัวหนังจะทำการโปรโมตกันแบบเนียนๆกันแล้วไปแล้วในรายการ The Face Thailand Season 2 ตอนแคมเปญสุดท้ายก่อนที่บรรดาสาวๆ 4 คนจะไปเดินไฟนอลวอล์ค ด้วยการจำลองฉากในภาพยนตร์เอามาให้ดูพอเป็นน้ำย่อย

อย่างไรก็ตามความน่าสนใจของ “อวสานโลกสวย” นั้น ไม่ได้เป็นแค่เพียงหนังระทึกขวัญที่มีแต่ตัวละครหญิงขี้อิจฉาเท่านั้น แต่ตัวผู้กำกับของเรื่องอย่างปัญญ์ หอมชื่น, อรอุษา ดอนไสว ยังแจงว่าจริงๆแล้วตัวหนังนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คของวัยรุ่นบางกลุ่มที่โตมากับสื่อประเภทนี้ 

ผู้กำกับรู้สึกว่าสื่อเหล่านี้เหมือนเป็นโลกอีกใบหนึ่งที่พวกเขาสามารถสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่โดยเลือกที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นเฉพาะด้านที่ตัวเองอยากให้เห็น และบางครั้งก็แต่งเติมหรือเสแสร้งแสดงออกในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง เพื่อให้คนอื่นยอมรับทำให้เราไม่มีทางรู้เลยว่าที่เราเห็นว่าเขาสวยงาม ชีวิตดีมีความสุขอยู่เสมอ จริงๆแล้วโลกที่เขาอยู่มันสวยงามแบบนั้นหรือว่ามันเลวร้ายจนเขาต้องหนีจากมัน โดยการสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่เรามองไปที่กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่พยายามทาทุกอย่างเพื่อให้ได้เป็นเน็ตไอดอล 

เพราะอะไรพวกเขาจึงภาคภูมิใจกับจำนวนยอดไลค์และคำชมที่มีต่อตัวตนปรุงแต่งนี้ เราตีความว่าลึกๆแล้วมันเป็นการเรียกร้องความสนใจทางเพศและความรู้สึกดีที่มีคนอื่นมาอิจฉาตัวเองซึ่งการตีความนี้เป็นที่มาของตัวละครหลักสองตัวในเรื่อง โดยตัวละคร “แจ๊ค” สะท้อนความรู้สึกทางเพศของแฟนคลับที่ตามชื่นชมกดไลค์ ส่วนตัวละคร “เกรซ” สะท้อนถึงความอิจฉาริษยาที่คนอื่นมีต่อตัวเน็ตไอดอล ผู้กำกับได้สร้างตัวละครสองตัวนี้ขึ้นมาให้มีความสุดโต่งและเต็มไปด้วยอารมณ์ประชดประชันแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการตั้งคาถามว่าเบื้องหลังโลกสวยของเน็ตไอดอล มันประกอบขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่น่ารังเกียจเหล่านี้จริงหรือไม่

เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการนำตัวละครสองตัวนี้มาต่อยอด โดยมีเป้าหมายว่าอยากให้ดูสนุกและมีตัวละครที่น่าจดจำ จึงออกแบบให้ตัวภาพยนตร์ขับเคลื่อนด้วยตัวละครเป็นหลักและเลือกที่จะลดบทบาทของเทคนิคทางภาพยนตร์ลง เพื่อขับเน้นตัวตนที่จับต้องได้ของตัวละครให้มากขึ้น 

 

ที่มา sanook